หากวันนี้คุณเขียนบทความไม่ได้ รู้สึกสมองตัน ๆ นึกโครงเรื่องไม่ออก ให้ลองเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นสักพัก ไม่จำเป็นต้องดันทุรังนึกให้ออกในตอนนั้น เพราะจุดประสงค์ของงาน รับเขียนบทความ ออนไลน์คือการสื่อสารที่ชัดเจน, เป็นธรรมชาติและได้ประโยชน์สาระกับผู้อ่าน ส่วนหนึ่งของความผิดพลาดในงาน รับเขียนบทความราคาถูก คือการที่นักเขียนละเลยหัวใจสำคัญของงานและมองข้ามความรู้สึกของผู้อ่านและมูลค่าความเชื่อใจของผู้ว่าจ้างไป ดังนั้นนักเขียนบทความน่าใหม่หากต้องการประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ ลองทำตามสูตรลับฉบับนักเขียนบทความมืออาชีพดูสักหน่อยดีไหม
- กำหนดหัวข้อที่จะเขียน: ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะได้ยินคำแนะนำสำหรับนักเขียนบทความหน้าใหม่ว่าควรเลือกเขียนจากบทความแนวที่ตนถนัดหรือมีความสนใจมากเป็นพิเศษ เพื่อจะได้สามารถเขียนงานออกมาได้เป็นธรรมชาติและราบลื่นมากขึ้น นอกจากนี้ นักเขียนหน้าใหม่ควรจะถามตัวเองก่อนเขียนบทความด้วยว่าต้องการเขียนบทความนี้เพื่อสื่อสารกับใคร, เป็นประโยชน์ในด้านไหน, เป็นการให้ความรู้หรือเป็นการให้แนวคิด หรือเป็นการสอนให้ปฎิบัติตาม ก็จะสามารถกำหนดหัวข้อที่จะเขียนได้ง่ายขึ้น และยังสามารถเลือกภาษาที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
- ไม่ต้องเขียนให้จบทีเดียว: อย่างที่แนะนำไว้ข้างต้น หากนึกไม่ออก เขียนต่อไม่ได้ ก็ยังไม่ต้องจับจดมุ่งจะเขียนให้ได้ในตอนนั้น เพราะแม้ว่าจะเป็นนักเขียนมืออาชีพก็ยังต้องเบรคงานเขียนไปทำอย่างอื่นบ้าง เมื่อสมองได้พักบางครั้งกลับมาเขียนได้ราบลื่น ไม่มีสะดุดกว่าเดิม หรือถ้ายังไม่สามารถเขียนบรรยายยาว ๆ ได้ก็อาจจะรองร่างโครงบทความที่ต้องการเขียนลงบนกระดาษเปล่าก่อน เขียนออกมาเป็นคำ ๆ หรือประโยคสั้น ๆ ก็ได้ รับรองว่าคุณจะสนุกกับงานเขียนมากขึ้น ไม่ว่างานชิ้นนั้นจะเป็นการ รับเขียนบทความ ราคา เท่าไหร่ก็ตาม
- เชื่อมโยงประโยคอย่างมีเหตุผล: เมื่อได้วางกรอบการเขียนจากหัวข้อของบทความและวางโครงเนื้อหาไว้บ้างแล้ว นักเขียนบทความที่ดี ควรสามารถสื่อสารเนื้อหาออกมาด้วยสำนวนที่สละสลวย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะคำคม หรือ สำนวนสุภาษิตก็ได้ แต่ที่สำคัญ การเลือกใช้สำนวนต่าง ๆ หรือการให้เหตุผลในแต่ละวรรคตอนจะต้องสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุมีผลและเป็นไปในทางเดียวกัน
อย่างไรก็ดี นักเขียนบทความหน้าใหม่ควรเข้าใจด้วยว่า การตั้งชื่อบทความตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มลงมือเขียนจะเป็นการกำหนดกรอบการเขียนที่ผู้ให้บริการ รับเขียนบทความ มืออาชีพหลาย ๆ คนนิยมเลือกใช้ เพื่อช่วยให้เรารู้ว่าจุดหมายปลายทางของการเล่าเรื่องนั้น ๆ คืออะไร จะได้ไม่หลงประเด็น ไม่วกวน และสามารถสื่อสารเนื้อหาได้อย่างครบถ้วน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นงาน รับเขียนบทความภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย ก็สามารถใช้หลักการเดียวกันนี้ได้ทั้งนั้น