อาชีพ รับเขียนบทความ ออนไลน์ในปัจจุบันดึงดูดให้ผู้ที่สนใจหารายได้เสริมหลาย ๆ คนก้าวเข้ามา รับเขียนบทความ กันมากขึ้น ส่วนหนึ่งเลือกงานเขียนบทความเป็นช่องทางสร้างรายได้เสริมเพราะต้องการเปิดโอกาสให้ตนเองสามารถนั่งทำงานที่บ้านพร้อม ๆ กับได้ดูแลลูกเล็ก หรือ พ่อแม่ที่บ้านได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าการ รับเขียนบทความ ราคา ค่าตอบแทนอาจจะไม่สูงหวือหวาแต่ก็คุ้มค่าและมีความเสี่ยงน้อย เพราะไม่ต้องลงทุนสต็อกสินค้า, ไม่ต้องเสียค่าเช่า, ไม่ต้องออกไปนอกบ้าน หรือก็คือเป็นงานเสริมที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนเงินค่างวดอะไรมากไปกว่าเวลา, คอมพิวเตอร์สักตัว, สัญญาณอินเตอร์เนตและความตั้งใจ อย่างไรก็ดี นักเขียนบทความออนไลน์ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติมด้วยว่าบทความที่ดีควรจะนำเสนอเนื้อหาต่าง ๆ ได้ครบถ้วน ทั้งนี้ หลักการเขียนบทความให้มีความน่าสนใจและชวนติดตามควรมีส่วนผสมของโครงเรื่องดังนี้
- จุดประกายด้วยชื่อบทความ: ชื่อบทความมักจะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ First Impression ของการพบปะกันระหว่างนักเขียนและผู้อ่าน ชื่อบทความที่ดีจึงไม่เพียงจะต้องสามารถดึงความสนใจของผู้อ่านให้คลิ๊กเข้ามาดูเนื้อหาเพิ่มเติมได้เท่านั้น แต่ยังต้องสามารถบ่งบอกภาพรวมของเนื้อหาในบทความได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หรืออย่างน้อยก็ต้องสามารถบอกได้ว่าบทความนั้น ๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร หรือ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างไรในแง่ไหนได้บ้าง ผลงาน รับเขียนบทความราคาถูก บางงาน นักเขียนหลงลืมจุดสำคัญนี้ไป ทำให้ผลงานไม่มีความโดดเด่นตามสมควร
- เกริ่นคำนำให้ชวนคิด: ถัดจากการดึงความสนใจจากผู้อ่านด้วย First Impression จากหัวข้อบทความแล้ว นักเขียนบทความออนไลน์ควรตึงผู้อ่านไว้ด้วยการใช้สำนวนหมัดเด็ดและลีลาการเกริ่นคำนำที่กระชับ แต่สามารถโปรยความคิดชวนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ, อยากรู้และคิดตามในช่วงย่อหน้าแรกแบบกว้าง ๆ เพราะถ้านักเขียนไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจติดตามได้ในย่อหน้าแรก ก็ยากที่ผู้อ่านจะเลื่อนสายตาไปอ่านติดตามเนื้อหาในช่วงต่อไป ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ไม่ควรพลาดก็คือการบอกเป็นนัยว่าเนื้อหาต่อไปเกี่ยวกับอะไรและดีอย่างไร ไม่ว่าจะเลือกตั้งคำถามชวนให้คิด หรือ จะเลือกสื่อด้วยคำคมสะกิดต่อมความสนใจก็ได้ทั้งนั้น
- แบ่งช่วงเนื้อหาให้คล้อยตาม: ในส่วนของเนื้อหา นักเขียนบทความออนไลน์ควรสื่อสารด้วยสำนวนที่กระชับ, เนื้อหาชัดเจนและไม่วกวน หากเนื้อหามีความซับซ้อนก็อาจจะเลือกแบ่งเป็นหัวข้อย่อยเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเบรคสายตาของผู้อ่านในแต่ละย่อหน้าอีกด้วย
- สรุปด้วยข้อคิดหรือคำถาม: โดยส่วนใหญ่ในย่อหน้าสุดท้ายหรือบทสรุปของแต่ละบทความ จะเป็นจังหวะที่นักเขียนได้แสดงความคิดเห็นของตนต่อเรื่องนั้น ๆ หรืออาจจะช่วยสรุปประเด็นพร้อมให้คำแนะนำหรือข้อคิดที่เป็นประโยชน์ ซึ่งก็สามารถตั้งเป็นคำถามให้ผู้อ่านคิดกันต่อ หรือจะปิดด้วยคำคมให้เกิดแรงบันดาลใจก็ได้เช่นกัน