หลายคนที่ก้าวเข้ามาสู่วงการเขียนบทความขายนั้น ที่มาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ชอบขีดเขียนเล่าเรื่องราวผ่านตัวหนังสือ และต้องการให้ผู้อื่นติดตามผลงานของตน แต่ก็มีบางคนที่ทำแล้วเกิดความเครียดเพราะไม่ได้มีความชอบที่แท้จริงในงานเขีนนั้นๆ ที่ทำไปเพราะต้องการหารายได้ ทำให้งานที่ทำอยู่นั้นออกมาไม่ดีเท่าที่ควรและอาจจะเกิดปัญหาที่เขียนบทความแล้วไม่มีความสุขได้ แต่สำหรับคนที่ชอบและหลงไหลในอาชีพนี้เรามีวิธีการที่จะพัฒนาด้านการเขียนของคุณให้ดีขึ้นและมีความสุขไปพร้อมกับการทำงานด้วยกันได้ ดังนี้
การเป็นนักเขียนที่ดีนั้นสิ่งแรกที่นักเขียนต้องมีคือหลักในการเขียน คือนักเขียนนั้นควรศึกษาหลักการเขียนเรียงความมาก่อนว่ามีหลักการเขียนอย่างไร เช่น ต้องมีการเกริ่นนำ เนื่อเรื่อง ข้อสรุป และที่สำคัญคำสำคัญคือการตั้งชื่อเรื่อง เพื่อให้เนื้อหานั้นไปด้วยกันได้
หาแนวที่ตัวเองชอบ หลายคนที่ก้าวเข้ามาเป็นนักเขียนบทความใช่ว่าจะเขียนได้ทุกเรื่อง อาจจะมีบางเรื่องที่ตัวเองไม่ถนัดและเมื่อเขียนไปงานที่ออกมาก็ไม่ดี ดังนั้นการเป็นนักเขียนที่ดีควรจะรู้ว่าแนวที่ตัวเองสามารถเขียนออกมาได้ดีนั้นคืออะไร เช่น ชอบเขียนแนวรีวิวสินค้า แนวสุขภาพ การเงิน หรือการท่องเที่ยว เป็นต้น วิธีการที่จะช่วยให้ตัวเองรู้ได้เร็วคือการทดลองเขียนบทความให้หลากหลาย เมื่อเราเขียนไปเยอะแล้วเราก็จะรู้ได้ทันทีว่าสามารถเขียนแนวไหนได้ดีที่สุด
เวลาในการเขียน เมื่อเริ่มเขียนบทความได้ดีขึ้นแล้วสิ่งต่อมาคือเรื่องของเวลา เพราะการเป็นนักเขียนบทความนั้นเรื่องเวลาสำคัญมาก ใครเขียนได้เร็วคนนั้นก็จะมีงานมามากกว่าคนที่เขียนได้ช้า ซึ่งเวลาในการเขียนนั้นหากทำไปเรื่อยๆก็จะมีประสบการณ์ และสามารถที่จะเขียนได้เร็วขึ้นเอง
เทคนิคในการเขียน มีนักเขียนหลายคนที่เข้ามาอยู่ในวงการนี้ไม่นานก็ต้องเลิกรากันไป เหตุผลหนึ่งคือไม่มีผู้จ้างงาน เพราะความสามารถมในการเขียนของตัวเองไม่ดี ดังนั้นหากต้องการจะอยู่ในวงการนี้ได้นานๆ นักเขียนควรหาเทคนิคเฉพาะตัวให้กับตัวเอง เพิ่มลีลาในการเขียนเพื่อชักชวนให้ผู้อ่านมีการติดตามข้อมูล เมื่อมีคนชอบในสิ่งที่เราเขียนแน่นอว่างานนั้นก็จะตามมาทันที
การเขียนบทความนั้นหากเรารู้รูปแบบและความชอบในการเขียน ก็จะช่วยให้งานเขียนบทความของเราเป็นสิ่งที่ไม่น่าเบื่อ ยิ่งทำแล้วยิ่งมีความสุข ซึ่งจะคล้ายกับเรากำลังเล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆฟัง แต่ในการเขียนบทความคือการเล่าเรื่องราวผ่านตัวอักษรเพื่อให้ผู้อ่านหลายพันคนฟังนั่นเอง ดังนั้นอย่าลืมสร้างความสุขลทักษะในการเขียนให้ตัวเองกันนะคะ