งานเขียนบทความ คือ งานถ่ายทอดเรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร หรือเนื้อหาสาระในเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้อ่านเข้าใจได้โดยง่าย โดยผ่านตัวอักษร ภาษาหรือถ้อยคำที่ผู้เขียนต้องการสื่อความหมายลงไป มีนักเขียนบทความบางท่านที่อยากให้บทความดูดีมีคุณภาพ แต่ไม่สามารถใช้ภาษาที่สื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้เลย อาจเป็นเพราะจริงจังกับงานเขียนหรือใช้คำเชิงในวิชาการมากเกินไป ทำให้การสื่อสารที่ออกมานั้นติดขัด และทำให้งานเขียนดูไม่เป็นมืออาชีพสักที
วันนี้ 1000CONTENT ผู้ให้บริการ รับเขียนบทความ กับลูกค้าธุรกิจชั้นนำ เรามีขั้นตอนสู่ความเป็นนักเขียนมืออาชีพมาฝากกัน
อย่ากังวลในสิ่งที่เขียน งานเขียนถ้าเรามีความกังวลในบทความที่จะเขียนลงไป อาจจะทำให้งานนั้นเขียนออกมาได้ไม่ดี หรืออาจจะทำให้เราขาดความมั่นใจ ฉะนั้นจงเชื่อว่าสิ่งที่เราถ่ายทอดลงไปในเนื้อหานั้น คือสิ่งที่เราอธิบายได้ถูกต้องและได้ศึกษาหาข้อมูลมาเพียงพอแล้ว
คิดหัวข้อเรื่องก่อนที่จะเขียน การหาหัวข้อหรือชื่อเรื่องที่จะเขียน เป็นการสร้างแนวทางของเรื่องว่าเราจะอธิบาย หรือบอกเล่าเรื่องราวใด ๆ ลงไปในบทความ หัวข้อที่ชัดเจนจะทำให้เขียนงานได้ง่ายขึ้นอย่างมาก
วางแผนก่อนเขียนบทความทุกครั้ง ทุกครั้งที่ได้หัวข้อในการเขียนมาแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการวางแผนในการเขียน จะต้องวางโครงสร้างของบทความว่าเนื้อหาส่วนใดจะอยู่ต้น กลาง หรือท้ายบทความ ถ้าไม่วางแผนให้ชัดเจนก็จะทำให้บทความของเราดูไร้ทิศทาง เขียนวกไปวนมาได้
อย่าพยายามเขียนรวดเดียว งานเขียนบทความถ้าไม่ใช่มืออาชีพหรือมีประสบการณ์ในการเขียนมากนัก ก็อย่าพยายามเขียนให้เสร็จในครั้งเดียว ควรเขียนแค่ 2-3 หัวข้อหลักไว้ก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยกลับมาเขียนอีกครั้งก็ย่อมได้ จะทำให้การเขียนไหลลื่นขึ้น หรืออาจมีไอเดียใหม่ ๆ เพิ่มเติม อีกทั้งยังได้ตรวจทานแก้ไขเนื้อหาที่เขียนไปแล้วให้ดียิ่งขึ้น
อย่าลืมสรุปตอนท้ายเรื่องที่เขียนมา ในส่วนของย่อหน้าสรุปจากบทความทั้งหมดนั้น ไม่ควรยาวมากนัก สัก 2-3 บรรทัดเท่านั้น และก็สรุปจากเนื้อหาหลักจริง ๆ โดยให้โยงกับหัวข้อที่สร้างขึ้น
นี่เป็นขั้นตอนอย่างง่ายสำหรับการเป็นนักเขียนมืออาชีพ ที่ผู้เขียนสรุปมาให้ผู้ที่สนใจงานเขียนบทความได้อ่าน และขอแนะนำให้อ่านเพิ่มเกี่ยวกับ ข้อห้ามหลักสำหรับนักเขียนบทความ เพื่อให้ได้งานที่ดีมีคุณภาพส่งถึงมือลูกค้า
การเป็นนักเขียนมืออาชีพ ต้องอาศัยประสบการณ์สั่งสมไปเรื่อย ๆ ก็จะทำทุกอย่างได้อย่างคล่องแคล่ว เขียนด้วยความชำนาญและสบายใจ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้ยาก ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์และประทับใจ ยิ่งเขียนบ่อยยิ่งพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้น