บทความที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์หรือบล็อก นอกจากให้ความรู้หรือแสดงวิธีแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านแล้ว ในการเสริมประสิทธิภาพด้าน SEO ให้กับเว็บไซต์นั้น ในบทความต้องมีองค์ประกอบที่เหมาะสมด้วย ซึ่งการเขียนบทความ SEO มีความแตกต่างกับการเขียนบทความทั่วไปอยู่หลายประการ โดยบทความสำหรับ SEO นั้นจะต้องมีเทคนิคที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นมาติดอันดับผลการค้นหาบน Search Engine ด้วย ในบทความนี้เราจะมาบอกถึงความแตกต่างระหว่างบทความทั้งสองประเภท เพื่อให้คุณผู้อ่านเข้าใจเกี่ยวกับการ รับเขียนบทความ SEO มากขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง บทความ SEO กับบทความทั่วไป
1. คำค้นหา หรือคีย์เวิร์ด (keyword)
บทความทั่วไปมักไม่กำหนดคีย์เวิร์ดเฉพาะเจาะจง โดยส่วนมากจะเป็นบทความสำหรับการให้ความรู้ การรีวิว การอธิบายหรือบอกเล่าประสบการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และไม่หวังผลเพื่อผลักดันอันดับเว็บไซต์ในเว็บเสิร์ชเอ็นจิ้น จึงไม่มีการกำหนดคีย์เวิร์ดเจาะจง ผู้เขียนสามารถรังสรรค์งานไปตามลำดับเค้าโครงที่ตนเองคิดไว้ แต่สำหรับบทความเพื่อ SEO นั้น จะมีการกำหนดคำค้นหาหรือที่เรียกว่าคีย์เวิร์ดเอาไว้ในบทความ ซึ่งตรวจสอบมาแล้วว่ากลุ่มผู้ชมนิยมใช้คำดังกล่าวเพื่อค้นหาทั้งในด้านของจำนวนและความเฉพาะเจาะจง เพื่อให้คีย์เวิร์ดเหล่านั้นเป็นเส้นทางนำผู้ที่ค้นหาคำนั้น ๆ ผ่าน Search Engine มาสู่เว็บไซต์เป้าหมาย ผู้ รับเขียนบทความออนไลน์ จะระบุคีย์เวิร์ดผสานเข้าไปในเนื้อหาของบทความให้เป็นธรรมชาติและมีความสอดคล้องกับบริบทโดยที่ผู้ชมไม่รู้สึกติดขัดเวลาอ่านบทความ
2. บทความ SEO เน้นการตลาดมากกว่าบทความทั่วไป
บทความที่เขียนขึ้นเพื่อหวังผลให้ติดอันดับ SEO นั้น จะมีการปรับแต่งโครงสร้างของบทความ เนื้อหา และคำค้นหา มีจุดประสงค์เพื่อให้ระบบจัดอันดับของเสิร์ชเอ็นจิ้น (search engine algorithm) ประมวลผลได้ว่าบทความมีความเกี่ยวข้องและตรงประเด็นกับคำค้นหาอย่างยิ่ง หากทำอย่างตรงจุดและได้ผลก็จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับสูงในคำค้นหานั้น เช่น อยู่ในอันดับ 1-5 หรือ 1-10 ผลทางการตลาดอย่างแรกคือไม่ต้องเสียเงินลงโฆษณาสำหรับคำค้นหานั้น อย่างที่สองคือมีผู้ชมเข้ามายังเว็บไซต์มากขึ้น เพิ่มโอกาสขายสินค้าและบริการได้มากขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับบทความทั่วไปจะไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการตลาดและไม่เน้นสร้างผลกำไรทางธุรกิจ
3. การวางรูปแบบลิงก์ภายในบทความ
ลิงก์คือการเชื่อมโยงที่ผู้อ่านสามารถคลิกที่จุดเชื่อมโยงแล้วไปยังหน้าปลายทางตามที่ผู้เขียนบทความกำหนดไว้ จุดเชื่อมโยงก็มักเป็น วลี, คำ, ประโยค, URL ซึ่งบทความ SEO จะมีลิงก์อยู่ 2 ลักษณะคือ ลิงก์ภายใน (internal link) กับ ลิงก์ภายนอก (external link)
- ลิงก์ภายใน คือการเชื่อมต่อไปยังหน้าต่าง ๆ ในเว็บไซต์ ซึ่งมีประโยชน์ให้ผู้อ่านสามารถคลิกไปยังเนื้อหาส่วนอื่น ๆ ในเว็บไซต์ได้ เพื่ออ่านหัวข้อหรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน ยกตัวอย่างเช่น หากผู้อ่านกำลังอ่านเรื่อง ข้อดีของการออกกำลังกาย เมื่ออ่านไปถึงคำว่า “รองเท้าวิ่ง” ที่ผู้เขียนทำลิงก์ไว้ ก็สามารถคลิกที่คำว่า รองเท้าวิ่ง แล้วเบราเซอร์จะพาไปยังหน้าที่แนะนำรองเท้ากีฬาสำหรับวิ่งได้ วิธีนี้มีข้อดีคือผู้อ่านจะรับชมเนื้อหาในเว็บไซต์นานขึ้น ส่งผลดีต่อค่าคะแนน SEO รวมถึงอาจตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้ด้วย การวางลิงก์ภายในที่เป็นระบบ จะทำให้เสิร์ชเอ็นจิ้นสามารถเข้าใจได้ว่าหน้าต่าง ๆ ของเว็บไซต์แต่ละหน้านั้นมีประเด็นเกี่ยวกับอะไร
- ลิงก์ภายนอก คือการเชื่อมโยงออกไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภายนอกนั้นทำให้เสียคะแนน SEO ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว สามารถลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่นได้หากมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน เว็บภายนอกก็อาจจะเป็นเว็บไซต์ในธุรกิจเครือข่ายของเราเองหรือพันธมิตร หรือเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ หรือเว็บไซต์ของผู้ลงโฆษณา แต่สำหรับบทความโดยทั่วไปแล้ว จะมีลิงก์ภายในหรือภายนอกหรือจะไม่มีการลิงก์เลยก็ได้ อยู่ที่ความเหมาะสมและความต้องการของผู้เขียนบทความ
4. ความสม่ำเสมอในการเผยแพร่บทความ
จะเป็นอย่างไรหากผู้ชมเข้ามายังเว็บไซต์แล้วพบแต่เนื้อหาเก่าไม่อัปเดต ก็อาจจะคิดว่าเว็บไซต์นี้ล้าสมัย ไม่มีข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ธุรกิจหรือช่องวิดีโอ ผู้ชมต่างคาดหวังจะได้รับชมหรืออ่านเนื้อหาที่ทันสมัยอยู่เสมอ การทำ SEO ด้วยการเผยแพร่บทความจึงต้องวางแผนการเผยแพร่บทความอย่างสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะส่งผลดีให้เว็บไซต์มีความเคลื่อนไหว มีผู้ชมเข้ามาอ่านซ้ำ ได้คะแนนที่ดีทั้งด้าน SEO และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ส่วนบทความทั่วไปนั้นอาจจะเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอหรือเป็นครั้งคราว ก็เป็นไปตามใจหรือเวลาว่างของผู้เขียน
5. จำนวนคำในบทความ
จำนวนคำในบทความเพื่อ SEO มักมีความยาวพอสมควร ตั้งแต่ 300 คำขึ้นไป อยู่ที่ลักษณะของบทความนั้นว่าต้องการอธิบายเนื้อหาเชิงลึกแค่ไหน มีเทคนิคที่น่าสนใจว่าคู่แข่งมีบทความจำนวนคำเท่าไหร่ ให้ทำอย่างน้อยเท่ากันหรือยาวกว่าและละเอียดกว่า เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลดีทาง SEO ด้วย เนื้อหาที่ยาว ผู้อ่านจะรู้สึกได้ว่ามีเนื้อหาที่ครอบคลุมและละเอียดกว่า อ่านนานกว่า ยิ่งหากเขียนได้ดี ตรงใจ มีประโยชน์ อ่านเสร็จแล้วมีการแชร์ต่อไปยังช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ก็ยิ่งได้ผลดีต่อการทำ SEO ในขณะที่บทความทั่วไปนั้นไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีความยาวเท่าไหร่ แต่เป็นไปตามความต้องการของผู้เขียนเอง
จะเห็นว่าการเขียนบทความ SEO นั้น มีความละเอียดและเฉพาะเจาะจงมากกว่าบทความทั่วไป ทั้งต้องมีการค้นคว้าในเรื่องของคำค้นหา กำหนดคีย์เวิร์ดที่จะนำมาใช้ในแต่ละบท จำนวนครั้งของคีย์เวิร์ดที่จะให้ปรากฏในบทความ รวมถึงตำแหน่งด้วย ที่สำคัญยังคงให้ประโยชน์ต่อผู้อ่าน อ่านแล้วลื่นไหลไม่ติดขัด หากเจ้าของธุรกิจต้องการเพิ่มบทความเนื้อหาสาระลงในเว็บไซต์และส่งผลดีต่อการทำ SEO ด้วย 1000CONTENT เราให้บริการ รับเขียนบทความ SEO ตามคีย์เวิร์ดหรือคำค้นหาที่กำหนด ด้วยการค้นคว้าข้อมูลและเรียบเรียงเนื้อหาให้อ่านง่ายได้ประโยชน์ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้อ่าน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ SEO ให้กับเว็บไซต์ธุรกิจ