ขั้นตอนการทำงานสำหรับผู้ตรวจงานบทความ
- อ่านงานบทความที่ได้รับมอบหมายโดยรวม
- ค้นหาการทำซ้ำ คัดลอก งานจากเว็บไซต์อื่น ๆ ทาง Google.co.th
- เปิด Brief งานที่ได้รับมอบหมายควบคู่ไปกับการตรวจสอบงานบทความ
- อ่านงานบทความให้ละเอียดว่าตรงกับจุดประสงค์ของ Brief งานหรือไม่
- ตรวจสอบและแก้ไข คำถูก-ผิด คำเชื่อม คำซ้ำ คำฟุ่มเฟือย คำที่ไม่เหมาะสม และอื่น ๆ ในบทความ
งานแบบไหนที่ผู้ตรวจงานควรตีกลับให้นักเขียนแก้ไข!!!
- งานคัดลอก ทำซ้ำ ตัดแปะ แก้ไข มาจากแหล่งข้อมูลในเว็บต่าง ๆ
- งานที่ค้นหาแหล่งข้อมูลมาเพียงแค่แหล่งเดียว (ยกเว้นงานที่หาข้อมูลได้ยากจะอนุโลม)
- งานที่เขียนไม่รู้เรื่อง เขียนวกวน เขียนไม่เข้าใจ สื่อความหมายไม่ได้ ตีความไม่ถูก
- งานที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า (Brief)
- งานที่จัดหน้า รูปแบบการพิมพ์ ตำแหน่งวางรูปที่ผิด
- ไม่แนบลิงค์ที่มาของรูปภาพ (ถ้ามีรูป)
- การแนบไฟล์ตอนส่งงานที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของเรา
จำนวนคำ | ภาษาไทย | ความยาวประมาณ |
---|---|---|
300 คำ | 12 บาท | 1/3 - 1/2 หน้า A4 |
500 คำ | 20 บาท | 2/3 - 1 หน้า A4 |
1000 คำ | 30 บาท | 1.5 หน้า A4 |
*หากมีการจัดส่งให้ตรวจเป็นชุดใหญ่จำนวนมาก ค่าตรวจจะคิดเป็นแบบเหมาจ่าย
รู้หรือไม่ ว่าลูกค้าตรวจงานเราอย่างไร?
ปกติบทความทุกบทจะให้นักเขียนนำบทความไปตรวจที่ Smallseo อยู่แล้ว โดยให้แคปรูป Unique 100% แปะ ไว้ท้ายบทความทุกบท เพื่อให้มั่นใจระดับหนึ่ง แต่โปรแกรมก็เป็นแค่ส่วนเสริมเท่านั้น ลูกค้ามักจะตรวจสอบบทความของ พวกเราด้วย Google ซึ่งแม่นยำและเห็นผลแน่นอนกว่าโปรแกรม
แล้วบทความแบบไหน ที่จะผ่านการตรวจของลูกค้า?
ก็คือบทความที่คิดขึ้นเองหรือประมวลจากความคิดตัวเองแล้วลงมือเขียน โดยการค้นคว้าอ่านข้อมลูจากแหล่งต่าง ๆ 2-3 แหล่งขึ้นไป ไม่ Copy มาจากที่อื่น อ่านบทความแล้วเข้าใจง่าย ไม่วกวน ตีความหมายได้ตรงกับที่ลูกค้าต้องการ บทความแบบนี้เช็ค Unique ก็ผ่าน ตรวจด้วย Google ก็ไม่ซ้ำแน่นอน ถ้าใคร ทำแบบนี้ได้หรือทำอยู่แล้ว ก็เลิกอ่านวิธีข้างล่างไปได้เลยครับ มีนักเขียนหลายท่านทำดีอยู่แล้วก็ดีมากเลยครับ แต่บางคนก็ทำโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจทำก็ขอให้ปรับแนวคิด หันมาทำงานบทความที่มีคุณภาพกัน
วิธีเขียนบทความแบบสบาย ๆ แต่ลูกค้าตีกลับ เลิกจ้าง !
- Copy ข้อความจากเว็บอื่น มาแปะลงในไฟล์บทความ แล้วแก้ไขคำต่อคำ ลบบางคำ แทรกบางคำ สลับประโยค
- อ่านแหล่งข้อมลูน้อย เช่น 1 แหล่ง ทำให้ข้อมูลไม่หลากหลาย มองด้วยตา เทียบกันแล้วรู้เลยว่าเหมือนกัน
- ยึดติดโครงเรื่องเดิม ๆ ไม่กล้าฉีกแนว เช่น แหล่งข้อมูล แนะนำที่ทำงานสวย ๆ 10 อันดับ ก็ทำตามลำดับเขามา เป๊ะ ๆ เรียง 1 ถึง 10 เรื่องพวกนี้อย่าไปยึดติด เพราะมันไม่มีผิดถูก เราอ่านแล้วเราชอบ 5 อันดับ ก็เลือกมาแนะนำได้ด้วยสไตล์เราเอง อย่าไปยึดติดแหล่งข้อมูลเกินไป หาประเด็นแล้วสร้างบทความด้วยตัวเองดีที่สุด
ทำไมพวกเราต้องจริงจังกับเรื่องนี้ ?
มีกรณีที่เกิดขึ้นจริง คือ ลูกค้าตรวจพบว่ามีงานที่คัดลอกมาจากที่อื่นแล้วสั่งยกเลิกงานเราทั้งหมด งานบริการอะไรก็ตาม ชื่อเสียงสำ คัญที่สุด งานของนักเขียนที่ส่งออกไป ก็ส่งไปในนาม 1000Content แม้เราจะทำดี 100 บท แต่มีงานที่ทำผิด เพียง 2-3 บท เค้าก็ไม่เชื่อมั่นเราแล้ว สุดท้ายก็เป็นพวกเราเองที่ต้องร่วมกันรับผลที่ตามมา คือ ขาดงาน หรือ มีงานน้อยลง แต่เรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้านักเขียนทุกคนเข้าใจและให้ความร่วมมือสร้างสรรค์บทความคุณภาพกัน เราก็จะช่วยกันสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือว่าพวกเราทั้งหมดเป็นมืออาชีพตัวจริง
หลายคนสงสัยว่าทำไมบทความที่ผ่าน Unique100% แล้ว จึงถูกตรวจจับได้จาก Google?
มาลองดูกัน…
นี่เป็นตัวอย่างบทความที่แม้จะ Unique 100% แต่แท้จริงแล้วลอกมาจากที่อื่น
ลูกค้าเขาตรวจงานพวกเราอย่างนี้ครับ
ก็คือการนำข้อความบางส่วนของบทความไปเช็คใน Google โดยตรง
*** ใน 1 บทความ ให้นำข้อความเป็นประโยคยาว ๆ ประมาณ 1 บรรทัด (หรือประมาณ 27 คำ ) ไปใส่ในช่องค้นหาของ Google ถ้ายาวไป Google จะ ERROR ให้ลดคำลง โดยทำการสุ่มเลือกข้อความตามตำแหน่งต่าง ๆ ใน บทความ อย่างน้อย 5-10 ตำแหน่ง กระจาย ๆ ดังรูป
เช่น นำประโยคนี้ *กรอบแดงที่สามจากรูปด้านบน
“หลังจากการตัดสินใจได้แล้วว่าจะมีการออกหล้กทรัพย์มาเสนอขายต่อประชาชน บริษัทที่ทำการเสนอขาย”
เอาไปกรอกใน Google
แล้วรอดผูลการค้นหา …
ซึ่งถ้าออกมาในรูปนี้ก็ให้สงสัยไว้ก่อน มองทุก ๆ อันดับว่ามีประโยคแดง ๆ ติด ๆ กันหรือไม่ เช่น รูปด้านล่าง
จะเห็นว่ามีความใกล้เคียงเมื่อเทียบกับที่นักเขียนส่งมา
“หลังจากการตัดสินใจได้แล้วว่าจะมีการออกหลักทรัพย์มาเสนอขายต่อประชาชน บริษัทที่ทำการเสนอขาย”
ขั้นตอนต่อไป คือ คลิกไปดูเว็บดังกล่าวแล้วลองดูเทียบกัน ลูกค้าจะนำข้อความจากต้นฉบับมาแปะลงในไฟล์งานนักเขียนเพื่อให้ตรวจง่ายขึ้น แล้วทำการไฮไลท์ตามไปด้วย ถ้าตรงกันมากก็จบเลยครับ บทความแบบนี้คือบทความที่ “ลอก” มาจากที่อื่นนั่นเอง
เช่น
http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/Education/frame_cente r_ipo.html
ดูเนื้อหาต้นฉบับ เช่น
หลังจากตัดสินใจได้แล้วว่าจะออกหลักทรัพย์เสนอขายแก่ประชาชน บริษัทผู้เสนอขายหลักทรัพย์ (Issuer) ก็จะปรึกษากับ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” จัดทำหนังสือชี้ชวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ให้มีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อให้นัก ลงทุนอ่านทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้นได้
คราวนี้มารู้จักกับ “ผ้จูัดจำหน่ายหลักทรัพย์” หรือที่เราเรียกกันว่า อันเดอร์ไรท์เตอร์ (Underwriter) ซึ่งก็คือบริษัท หลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนญุาตให้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ทำหน้าที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน ทั่วไปแทนบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ซึ่งการเสนอขายหุ้นไอพีโอแต่ละครั้งจะไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวว่าจะจองด้วยวิธีใด ผ่านช่องทางไหน จ่ายเงินอย่างไร หรือจัดสรรอย่างไร ผู้ลงทุนจะต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ จากหนังสือชี้ชวนเอง เมื่อหุ้นได้รับจัดสรรเรียบร้อยแล้ว ก็จะถูกนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสซื้อขายเปลี่ยนมือบนกระดาน ตลท.ต่อไป
เมื่อเทียบกับงานของนักเขียน…. จะเห็นว่ามีความคล้ายกันมากทีเดียว *ตัวหนังสือสีแดง
หลังจากการตัดสินใจได้แล้วว่าจะมีการออกหลักทรัพย์มาเสนอขายต่อประชาชน บริษัทที่ทำการเสนอขายหลักทรัพย์ก็จะทำการปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อทำการออกขายกันต่อไปแล้ว ก็ต้องมาทำความรู้จักที่ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์หรือที่เรียกกันว่าอันเดอร์ไรท์เตอร์ ซึ่งก็คือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนญุาตให้สามารถที่จะจัดทำการจำหน่ายหลักทรัพย์ออกไป โดยที่ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จะทำหน้าที่ในการเสนอขายหลักทรัพย์ให้กับประชาชนทั่วไป แทนตัวบริษัทผ้อูอกหลักทรัพย์ ซึ่งในการนำเสนอขายหุ้น IPO ในแต่ละครั้งจะไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนหรือว่าตายตัวมากนักว่าจะต้องมีการจองด้วยวิธีใด ผ่านทางช่องทางไหน หรือจ่ายเงินกันอย่างไร ผู้ลงทุนจะต้องมีการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ จากหนังสือที่ชี้ชวนเอาเอง แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นธนาคารพานิชย์ต่าง ๆ ที่เป็นช่องทางตัวกลางในการขาย
ทำอย่างไร จึงจะมีเนื้อหาที่ดี ไม่ถูกตรวจพบว่าซ้ำจากที่อื่น?
ง่ายที่สุดคือ อย่า Copy มาก็พอแล้ว ไม่ว่าจะ Copy มาวางไว้เพื่อดูก่อน (เพราะท่านอาจจะลืมลบ) หรือจงใจ Copy มาเพื่อตั้งใจแก้คำบางคำ
ขอให้สร้างสรรค์บทความด้วยความมั่นใจ ตั้งใจ อ่านข้อมูลแล้วอย่าไปยึดติดถ้อยคำ เคยดูหนังสนุก ๆ หรือเจอเรื่องราวสนุก ๆ แล้วมาเล่าให้เพื่อนฟังไหมครับ เล่าเท่าที่เล่าได้ เล่าในประเด็นสำคัญ เล่าด้วยสำนวน ความเข้าใจของตัวเอง…
การเขียนบทความก็คล้าย ๆ กันครับ แล้วบทความจะออกมาแบบมีคุณภาพ ไม่ซ้ำใครแนน่อน
เรื่องนี้ถ้าเริ่มต้นมาจากนักเขียนได้ดีแล้ว งานของพวกเราก็มีคุณภาพ ตรวจงานเร็ว อนุมัติเร็ว ส่งงานไว ลูกค้าชอบ พวกเราก็จะมีงานเข้ามาไม่ขาดสายครับ
—
ปรับปรุงล่าสุด 14/2/2562
จัดทำเมื่อ 27/5/59